ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ การบันทึกผลหรือการรายงานผลการทดลอง เพื่อบอกปริมาณหรือจำนวนที่เป็นตัวเลข ตัวเลขทุกตัวต้องแสดงถึงความเที่ยงตรงของปริมาณที่วัดหรือคำนวณได้ และที่สำคัญคือ ผู้ทำการทดลองสามารถอธิบายได้ถึงที่มาของตัวเลขเหล่านั้น ตัวเลขดังกล่าวเรียกว่า เลขนัยสำคัญ (significant figure) โดยเลขนัยสำคัญ ประกอบด้วย ตัวเลขทุกตัวที่แน่นอน (certainty) และตัวเลขที่ไม่แน่นอน (uncertainty) อีก 1 ตัว
ตัวเลขที่แน่นอน (certainty) หมายถึง ตัวเลขที่แสดงโดยเครื่องมือวัด ซึ่งจะเป็นเลขอื่นไม่ได้ เนื่องจากเป็นตัวเลขที่ไม่มีความคลาดเคลื่อน ตัวเลขที่แน่นอนนี้มักจะขึ้นอยู่กับความละเอียด (Least count) ของเครื่องมือวัด หรือชนิดของเครื่องมือวัด
ตัวเลขที่ไม่แน่นอน (uncertainty) หรือ ตัวเลขที่มีความคลาดเคลื่อน (error) หมายถึง ตัวเลขที่เกิดจากการคาดคะเนหรือการประมาณ หรืออาจเป็นตัวเลขหลักสุดท้ายบนจอแสดงผลของเครื่องมือวัด อย่างไรก็ตาม ผู้ทดลองควรศึกษาคู่มือการใช้เครื่องมือให้ละเอียด เพื่อให้เข้าใจว่าความคลาดเคลื่อนที่ได้จากจอแสดงผลเกิดขึ้นที่ตัวเลขหลักใดกันแน่
ตัวอย่างเช่น ถ้าใช้ไม้บรรทัดที่มีช่องสเกลเล็กสุด 1 มม. วัดความยาวได้ 114.8 มม. ตัวเลข 3 หลักแรก (1, 1, 4) เป็นตัวเลขที่แน่นอน และมีนัยสำคัญเรียงจากมากไปน้อยตามลำดับ สำหรับเลข 8 (0.8 มม.) เป็นตัวเลขที่ไม่แน่นอน
ได้มาจากการประมาณโดยแบ่งขนาดช่องเล็กสุดของสเกลออกเป็น 10 ช่อง หมายความว่าในความเป็นจริง ความยาวอาจเป็น 114.7 มม. หรือ 114.9 มม. ก็ได้ ดังนั้น ผลการวัดความยาวนี้จึงเท่ากับ 114.
อีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ สมมุติว่าวัดปริมาตรได้ 2.9
เลขนัยสำคัญที่ได้มาจากการวัด โดยใช้เครื่องมือประเภทต่าง ๆ นั้นมีหลักการที่ชัดเจนในการบันทึกผล แต่สำหรับการคำนวณตัวเลขที่มีความคลาดเคลื่อน วิธีที่เหมาะสมที่สุดคือ การคำนวณการแพร่กระจายของความคลาดเคลื่อน (Propagation of errors) ซึ่งมีหลักเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ ที่อธิบายได้ชัดเจน
สำหรับหัวข้อนี้ จะกล่าวถึงแนวทาง (ไม่ใช่กฏ) ในการกำหนดตัวเลขนัยสำคัญที่มาจากการคำนวณปริมาณที่มาจากการวัด แนวทางนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหลีกเลี่ยงผลการคำนวณที่แม่นยำเกินกว่าปริมาณที่วัดได้ แต่ไม่รับประกันว่า ผลลัพธ์จะใกล้เคียงกับความไม่แน่นอน หากวัดปริมาณนั้นได้
ผลลัพธ์ที่คำนวณได้ ควรมีเลขนัยสำคัญตัวสุดท้ายตรงกับตัวตั้ง ที่มีทศนิยมน้อยที่สุด
ตัวอย่าง การเรโซแนนซ์ของคลื่นเสียงในท่อครั้งแรก เกิดที่ระยะ L1 = 9.
ผลลัพธ์ที่คำนวณได้ ควรมีจำนวนตัวเลขที่มีนัยสำคัญ เท่ากับจำนวนตัวเลขนัยสำคัญที่น้อยที่สุดในบรรดาปริมาณที่วัดได้ ซึ่งใช้ในการคำนวณ
ตัวอย่าง จงหาอัตราเร็วเฉลี่ยของรถที่เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง โดยวัดระยะทางได้ 30.
ในการวัดปริมาณ x เป็นจำนวน N ครั้ง ค่าเฉลี่ยของปริมาณ x หาได้จาก
\[ \bar{x}=\frac{1}{N}\sum_{i=1}^{N}(x_i) \]เลขนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยย่อมขึ้นอยู่กับความคลาดเคลื่อนของค่าเฉลี่ย นั่นหมายความว่าต้องพิจารณาค่าความคลาดเคลื่อนสุ่มของข้อมูล แต่ถ้าหากต้องการแค่เลขนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยเท่านั้น สามารถพิจารณาเลขนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยได้จาก ส่วนเบี่ยงเบนสูงสุด (maximum deviation) หรือใช้ ความคลาดเคลื่อนสูงสุดของค่าเฉลี่ย(ΔXmax) ก็ได้ ซึ่งให้ผลลัพธ์ไม่ต่างกัน
อย่างไรก็ตาม การคำนวณค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดของค่าเฉลี่ย ใช้ได้ในกรณีที่ผลการวัดไม่แตกต่างกันมากนัก สำหรับค่าที่วัดได้แตกต่างจากค่าส่วนใหญ่มาก ๆ จะไม่นำมาพิจารณา แต่อย่างไรก็ตามค่าดังกล่าวยังจำเป็นต้องบันทึกไว้ เพื่อประกอบการพิจารณาหาสาเหตุ ที่ทำให้ได้ผลการวัดที่ต่างจากค่าส่วนใหญ่มาก ๆ
ตัวอย่าง จงหาค่าเฉลี่ยของผลการวัดต่อไปนี้ 13.010 g, 11.940 g, 12.070 g, 12.050 g, 12.010 g
วิธีคิด ไม่พิจารณาค่าที่วัดได้ 13.010 g เนื่องจากเป็นค่าที่แตกต่างจากค่าส่วนใหญ่ค่อนข้างมาก ดังนั้นค่าเฉลี่ยและความคลาดเคลื่อนสูงสุดของค่าเฉลี่ย(ΔXmax) หาได้จาก
\[ \bar{x}=\frac{11.940+12.070+12.050+12.010}{4}=12.0175\;\text{g} \] \[ \Delta\bar{x}=\frac{\left|x_{max}-x_{min}\right|}{2}=\frac{\left|12.050-11.940\right|}{2}=0.055\;\text{g} \]ดังนั้น ค่าเฉลี่ย ตามหลักนัยสำคัญ คือ 12.0
การพิจารณาส่วนเบี่ยงเบนสูงสุดก็ให้ผลที่ไม่ต่างกัน เนื่องจาก
maximum deviation = 0.0775 g
ดังนั้น ค่าเฉลี่ย ตามหลักนัยสำคัญ คือ 12.0
ผลลัพธ์ของลอการิทึมฐานสิบของตัวเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ มีเลขนัยสำคัญของ mantissa (ตัวเลขหลังจุดทศนิยมของค่า log) เท่ากับจำนวนเลขนัยสำคัญของตัวเลขเริ่มต้น
ตัวอย่าง
log (3.4
3.4
ตัวอย่าง (สำหรับ anti-loggarithm)
102.53
2.53
ในการทดลองเพื่อศึกษาหลักการหรือทฤษฎี หรือทดลองเพื่อหาปริมาณบางอย่าง เรามักเปรียบเทียบผลการทดลองกับผลการคำนวน และในหลายครั้งก็มีการเปรียบเทียบผลการทดลองกับผลการทดลองด้วยกันเอง เพื่ออธิบายถึงความสมเหตุสมผลของการทดลอง กับหลักการที่ใช้ในการอธิบายการทดลองนั้น ๆ เช่นในการทดลองเพื่อศึกษาหลักการอนุรักษ์โมเมนตัม เราต้องเปรียบเทียบโมเมนตัมก่อน และหลัง หรือการทดลองเพื่อหาความเร่งที่เราอาจทำนายผลล่วงหน้าโดยการคำนวนทางทฤษฎี แล้วเปรียบเทียบกับผลการทดลองหาความเร่ง ว่าได้คำตอบที่ตรงกันหรือไม่ เป็นต้น
ตัวอย่าง 1 ผลการทดลองวัดโมเมนตัมเชิงเส้นก่อนชนได้ 10.1
เราสามารพิจารณาเฉพาะตัวเลขนัยสำคัญ 2 อันดับแรก ซึ่งเป็นตัวเลขที่แน่นอน (10 kg m/s= 10 kg m/s) แล้วสรุปได้เลยว่าโมเมนตัมเชิงเส้น ในกรณีการชนนี้ เป็นไปตามหลักการอนุรักษ์โมเมนตัม เนื่องจากตัวเลขนัยสำคัญลำดับที่ 3 ของกรณีหลังชน เป็นตัวเลขที่มีความไม่แน่นอน
ตัวอย่าง 2 การทดลองเพื่อหาอัตราเร่งของการเคลื่อนที่บนพื้นระดับ ได้ aทดลอง = 10.1
ก่อนอื่นพิจารณาว่าอัตราเร่งที่ได้จากการทดลองกับผลคำนวณ เท่ากันหรือไม่ ดังตัวอย่างที่ 1 ให้พิจารณาเลขนัยสำคัญส่วนที่เป็นตัวเลขที่มีความแน่นอน นั่นคือ เลขนัยสำคัญ 3 ลำดับแรก ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่า 10.1 m/s2 ≠ 10.2 m/s2 ดังนั้น อัตราเร่งที่ได้จากการทดลอง ไม่เท่ากับผลการคำนวณ
การทดลองนี้ มีความสมเหตุสมผลหรือไม่ ถ้าการคำนวณไม่คำนึงถึงแรงต้านของการเคลื่อนที่ ก็ถือว่าผลการทดลองนี้มีความสมเหตุสมผล เนื่องจากแรงต้านอาจทำให้อัตราเร่งที่ได้จากการทดลองน้อยกว่าผลจากการคำนวณ