"ทำไปทำไม ทำไปเพื่ออะไร..."

โดยธรรมชาติแล้ว น้ำไหลจากที่ต่ำสู่ที่สูงได้ ถ้ามีพลังงานมากพอ


ทักษะปฏิบัติการฟิสิกส์


เลขนัยสำคัญ

ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ การบันทึกผลหรือการรายงานผลการทดลอง เพื่อบอกปริมาณหรือจำนวนที่เป็นตัวเลข ตัวเลขทุกตัวต้องแสดงถึงความเที่ยงตรงของปริมาณที่วัดหรือคำนวณได้ และที่สำคัญคือ ผู้ทำการทดลองสามารถอธิบายได้ถึงที่มาของตัวเลขเหล่านั้น ตัวเลขดังกล่าวเรียกว่า เลขนัยสำคัญ (significant figure) โดยเลขนัยสำคัญ ประกอบด้วย ตัวเลขทุกตัวที่แน่นอน (certainty) และตัวเลขที่ไม่แน่นอน (uncertainty) อีก 1 ตัว

ตัวเลขที่แน่นอน (certainty) หมายถึง ตัวเลขที่แสดงโดยเครื่องมือวัด ซึ่งจะเป็นเลขอื่นไม่ได้ เนื่องจากเป็นตัวเลขที่ไม่มีความคลาดเคลื่อน ตัวเลขที่แน่นอนนี้มักจะขึ้นอยู่กับความละเอียด (Least count) ของเครื่องมือวัด หรือชนิดของเครื่องมือวัด

ตัวเลขที่ไม่แน่นอน (uncertainty) หรือ ตัวเลขที่มีความคลาดเคลื่อน (error) หมายถึง ตัวเลขที่เกิดจากการคาดคะเนหรือการประมาณ หรืออาจเป็นตัวเลขหลักสุดท้ายบนจอแสดงผลของเครื่องมือวัด อย่างไรก็ตาม ผู้ทดลองควรศึกษาคู่มือการใช้เครื่องมือให้ละเอียด เพื่อให้เข้าใจว่าความคลาดเคลื่อนที่ได้จากจอแสดงผลเกิดขึ้นที่ตัวเลขหลักใดกันแน่ อ่านต่อ....


การวิเคราะห์กราฟ

ในการวิเคราะห์ผลการทดลอง เมื่อต้องการดูความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปร ว่าแปรผันต่อกันอย่างไร เมื่อปริมาณ x เพิ่มขึ้น ปริมาณ y เพิ่มขึ้นหรือลดลง ถ้าทั้ง 2 ปริมาณแปรผันตรงต่อกัน จะได้กราฟเส้นตรงที่สามารถหาความชัน จุดตัดแกนตั้งและจุดตัดแกนนอน เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณบางอย่างจากค่าเหล่านั้นได้

กราฟเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือ ที่ต้องอ่านค่าการวัดออกมาจากแกนตั้งและแกนนอน โดยกราฟจะมีสเกลบนแกนที่มีลักษณะคล้ายกับสเกลของไม้บรรทัด ฉะนั้นวิธีการอ่านค่าจากแกนทั้งสองของกราฟ จึงเป็นวิธีเดียวกับการอ่านค่าจากสเกลไม้บรรทัด แต่ต่างจากไม้บรรทัดตรงที่ ผู้เขียนกราฟต้องแบ่งสเกลกราฟให้เหมาะสมด้วยตนเอง หมายความว่าผู้เขียนกราฟ เป็นผู้กำหนดความละเอียดของสเกลในแต่ละแกน ซึ่งมีผลต่อนัยสำคัญของค่าที่อ่านได้จากกราฟ อ่านต่อ....


Physics lab @F10 Building

Monday, 28 April 2025 📅
Room Morning Afternoon Evening
F10301
F10302
F10303
F10304
F10305
F10306
F10307
F10308
F10309 😴
F10310 😴
F10311 😴
F10312 😴
F10313 😴
F10314 😴
F10315 😴
F10316 😴
F10303-2